คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เตรียมพร้อมการพัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการพัฒนากำลังคน การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การสร้างความเชื่อมั่น และการพัฒนาผู้ประกอบการ พร้อมมุ่งเป้าเพิ่มมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศเป็น 7.1 ล้านล้านบาท
ในปี 2570
ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยระหว่างการประชุมคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2565 ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนว่า กระทรวงพาณิชย์และเลขานุการคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) แห่งชาติ ระยะที่ 2 ครอบคลุมปี 2566-2570 ตั้งเป้าให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อน e-commerce ของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ คาดว่าภายในปี 2570 จะมีมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ 7.1 ล้านล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10 นับจากปี 2564 ที่มีการสำรวจโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ล่าสุด โดยพบว่ามูลค่า e-Commerce ภายในประเทศไทยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4.01
 
ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.08 จากปีก่อนหน้า (มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ ปี 2563 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3.78 ล้านล้านบาท)
“โดยในปี 2565 ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์นั้น ได้ดำเนินงานตามนโยบายของท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ในการเดินหน้าเสริมสร้าง
ขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการไทย ซึ่งรวมถึง SMEs วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกร ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ควบคู่ไปกับการผลักดันให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ทางการค้าที่ดี เป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลก โดยการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เช่น ส่งเสริมการขยายตลาดสินค้ากลุ่ม BCG (Bio - Circular - Green Economy) ในยุค New Normal ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และการเจรจาการค้าออนไลน์ (OBM) เป็นต้น”
สำหรับ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)
ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของแผนไว้ทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่ 1. การพัฒนากำลังคน พลเมือง และผู้ประกอบการดิจิทัล (Competency Building) 2. การพัฒนาสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Ecosystem and Enabling Factors) 3. การยกระดับความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกรรมในอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trust and Security) และ 4. การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ และส่งเสริมการค้าออนไลน์ทั้งภายในประเทศและข้ามพรมแดน (Enhance and Promotion)
ทั้งนี้ คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกว่า 30 หน่วยงาน เช่น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า และสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เป็นต้น เพื่อร่วมขับเคลื่อนและกำหนดทิศทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย และมุ่งเป้าให้ “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยเติบโต เท่าทัน ครบครัน มั่นใจ ปลอดภัย ยั่งยืน”ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้า
 

 
ตลาดสินค้าอาหารไทยสำเร็จรูปในตลาดโลกยังสดใส ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปหลังโควิด-19 และความนิยมอาหารไทยที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ผู้ประกอบการส่งออกร่วมกันส่งผลิตภัณฑ์ขอรับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT กันอย่างคึกคัก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศร่วมกับคณะกรรมการทำการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์เพื่อเข้าพิธีรับมอบตราสัญลักษณ์ช่วงปลายพฤษภาคมนี้
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (COVID-19) ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกเพื่อให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในวิถีใหม่ ด้านผู้ประกอบการในหลายธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที โดยสินค้าอาหารเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่มีการปรับตัวอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้คนต่างหันมาปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้านมากขึ้น ในหลายประเทศพบว่าแม้ผู้คนจะยังคงต้องการใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่เรื่องอาหารยังเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญและเน้นความปลอดภัยเป็นสำคัญ
“ในทุกๆ ปี กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะทำการคัดเลือกผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารไทยสำเร็จรูป พร้อมปรุงหรือพร้อมรับประทาน เครื่องแกง น้ำจิ้ม หรือ ขนมไทย เพื่อมอบตราสัญลักษณ์ Thai SELECT เพื่อให้ผู้บริโภคหรือร้านอาหารไทยในต่างประเทศสามารถเลือกซื้อเพื่อนำไปปรุงอาหารได้อย่างสะดวกและมีรสชาติตามตำรับอาหารไทย โดยนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ในเรื่องของ “อาหารไทย อาหารโลก” ที่มุ่งเน้นการขยายตลาดอาหารไทยไปตลาดโลกนั้น ทำให้การมอบตราสัญลักษณ์ Thai SELECT จึงเป็นภารกิจสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคในตลาดสากลได้มากขึ้น ปัจจุบันมีการมอบตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูปไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน 603 ผลิตภัณฑ์ จาก 54 บริษัท
 
สำหรับกิจกรรมคัดเลือกผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูปเพื่อมอบตราสัญลักษณ์ในปีนี้ มีผู้ประกอบการให้ความสนใจสมัครเข้ามาขอรับตราสัญลักษณ์เป็นจำนวนมาก จากการเล็งเห็นอัตราการเติบโตในตลาดต่างประเทศ และต้องการยกระดับมาตรฐานควบคู่กับการส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้า ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคในตลาดสากล และในปีนี้ได้มีการขยายการมอบตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ให้ครอบคลุมเครื่องปรุงรสสำหรับอาหารไทย เช่น กะปิ น้ำปลา น้ำปลาร้า เป็นต้น เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารไทยและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาดต่างประเทศ
 
DITP ได้เปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่สนใจส่งผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดเลือกเพื่อขอรับตรา Thai SELECT วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 จนถึง 26 มกราคม 2565 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 44 บริษัท เป็นบริษัทรายเดิม 20 บริษัท และบริษัทรายใหม่ 24 บริษัท มีผลิตภัณฑ์ที่ขอใช้ตราถึง 189 รายการ และขอต่ออายุตรา 175 รายการ รวมทั้งสิ้น 364 รายการ ซึ่งตรา Thai SELECT มีอายุในการรับรอง 3 ปี โดย DITP ได้ทำการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อรับมอบตรา Thai SELECT ไปเมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม ที่ผ่าน ซึ่งมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานภายในของกระทรวงพาณิชย์ และกรรมการจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร) ผู้แทนสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ผู้แทนสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ผู้แทนสถาบันอาหาร และผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารไทย เข้าร่วมการพิจารณาโดยจะประกาศผลในช่วงปลายเดือนเมษายน และจัดพิธีมอบเกียรติบัตรให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อรับมอบตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ในงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2022 ระหว่างวันที่ 24 – 28 พฤษภาคม 2565
 
โดยคณะกรรมการมีเกณฑ์การให้คะแนนครอบคลุมด้านรสชาติอาหาร ที่จะต้องคงความเป็นไทยและ ใช้วัตถุดิบตามประเภทของอาหารนั้นๆ ด้านนวัตกรรมและคุณภาพของอาหาร หลังการเปิดภาชนะบรรจุออกมาแล้วอาหารยังมีความสมบูรณ์และสวยงาม เมื่อผ่านกระบวนการอุ่นหรือทำให้สุกก่อนรับประทานยังคงมีรูปลักษณ์ที่สวยงามเหมือนการปรุงสด หรือมีการนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต ด้านการระบุขั้นตอนการเตรียมและประกอบอาหาร ด้าน Food Safety โดยจะต้องมีการรับรองความปลอดภัยจากองค์กรระดับประเทศหรือระดับโลก อาทิ องค์การอาหารและยา หรือ อย. / GMP / GHP / HACCP / ISO / Halal / BRC ด้านบรรจุภัณฑ์ โดยภาชนะ หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ และฉลากอาหารต้องมีความสวยงาม เหมาะสมกับอาหาร รวมทั้งมีการระบุรายละเอียด อาทิ ส่วนประกอบ วัตถุดิบ บนฉลากไว้อย่างชัดเจน
 
“ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ไม่ใช่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ แต่เป็นสัญลักษณ์การันตีว่าเป็นเมนูอาหารไทยที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบและเครื่องปรุงอาหารตามแบบวิธีการปรุงอาหารไทย ผ่านกรรมวิธีประกอบอาหารที่ใช้เครื่องปรุงตามแบบอย่างอาหารไทย บ่งบอกเอกลักษณ์ มีรสชาติและรูปลักษณ์ของอาหารตามมาตรฐานอาหารไทย ซึ่งมีรายละเอียดแจ้งไว้บนบรรจุในบรรจุภัณฑ์ถนอมอาหารที่ได้มาตรฐานสากลโดยอาหารยังคงมีคุณภาพสมบูรณ์เมื่อเปิดบริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคทั่วโลกมั่นใจได้ว่าสินค้าอาหารไทยสำเร็จรูปที่กำลังจะเลือกซื้อนั้นมีรสชาติและคุณภาพตามที่ต้องการอย่างแน่นอน สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT นั้น จะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกรม เช่น การประชาสัมพันธ์ในงานแสดงสินค้าอาหาร ในต่างประเทศที่กรมเข้าร่วม การจัดแสดงในคูหานิทรรศการ Thai SELECT ในงานแสดงสินค้า THAIFEX- ANUGA ASIA การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและจับคู่เจรจาธุรกิจโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศทั่วโลก รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งกรมเชื่อมั่นว่าโครงการและกิจกรรมต่างๆ จะช่วยผลักดันให้การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูปไปยังต่างประเทศนั้นเติบโตได้อย่างยั่งยืน" นายภูสิต กล่าวทิ้งท้าย

วันที่ 18 เมษายน 2565นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวขอชื่นชมทีมงานศิลปินเดี่ยวชาวไทยมิลลิ (MILLI) กับการแสดงบนเวที Coachella 2022 ที่นำข้าวเหนียวมะม่วง อาหารว่างคนไทยและเป็น 1ใน 50 เมนูขนมหวานที่ดีที่สุดของโลกเป็น Soft Power Content บนเวทีคอนเสิร์ต ถือเป็นไอเดียที่เป็นดีและน่าชื่นชม ซึ่งกระทรวงพาณิชย์พร้อมสนับสนุน Creative Economy โดยปี 2565 นโยบายหลักของกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้นปีคือการส่งเสริมและเชื่อมตลาดด้านนี้โดยเน้น Soft Power และยินดีหากทีมนี้จะให้กระทรวงพาณิชย์ส่งเสริมสนับสนุน
นางมัลลิกา กล่าวว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้นโยบายกับกระทรวงพาณิชย์ ด้าน Soft Power ว่ากระทรวงพาณิชย์จะต้องเป็นผู้ที่ช่วยส่งเสริม Soft Power เพื่อที่จะทำให้ Soft Power ของไทยไปผงาดในตลาดโลก ซึ่งประเทศไทยมีจุดแข็งไม่ว่าจะเป็นเรื่องศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิต โดยเฉพาะอาหารไทยเป็นที่เลื่องลือและยอมรับไปทั่วโลกและสิ่งที่มีความคุณค่ามากที่สุด คือ ความเป็นไทย ที่ไม่มีใครแย่งไปจากเราได้ ซึ่งนำไปขายได้ในทุกเรื่อง ทั้งในด้านการผลิตที่ละเอียดลออ งดงามและมีความรับผิดชอบ ในภาคบริการการท่องเที่ยวที่ไม่มีใครสู้เราได้ในโลก ซึ่งทั้งหมดนี้จะไปสู่โลกได้อย่างไร เราก็ทำมาเป็นลำดับและทำเป็นระบบชัดเจน มีกลไกรับผิดชอบยิ่งขึ้น
โดยในปี 2565 ซึ่งได้มอบหมายให้ดำเนินยุทธศาสตร์ Soft Power ทำกิจกรรม ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมแรกของปี 65 คือ การผลักดัน Soft Power ผ่านภาพยนตร์ แอนิเมชั่น และดิจิทัลคอนเทนต์ของไทย ในโครงการ Content Pitching เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งผู้เจรจาจากบริษัทฝั่งไทยสามารถสร้างรายได้รวมกว่า 815 ล้าน นับเป็นครั้งแรกในการดึงผู้ให้บริการสตรีมมิ่งความบันเทิงชื่อดังอย่าง Netflix, WeTV, iQiyi และ VIU เจรจาการค้ากับผู้ประกอบการไทย 15 บริษัท
"ปีนี้ 2565 ให้มุ่งเน้นการส่งเสริม Soft Power ให้ไทยให้ผงาดได้ในตลาดโลก โดยได้มีการส่งเสริม และสร้างเครือข่าย ขยายโอกาสเผยแพร่ผลงานดังกล่าวสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมกลุ่มธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม แหล่งวิถีชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยอีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้สนใจสามารถประสานงานที่สำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้ที่ 02-507-8449 หรือสายด่วน 1169 https://ditp.go.th " นางมัลลิกา กล่าว
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวเหนียวปี 2564 มีปริมาณ 150,570 ตัน มูลค่า 3,108.40 ล้านบาท ลดลง 25.73% จากปี 63และปี 2565 (ม.ค.- ก.พ. 65) มีปริมาณ 29,312 ตัน มูลค่ารวม 594.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.98 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 64 มีตลาดส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ลาว เวียดนาม และญี่ปุ่นและสถานการณ์การส่งออกมะม่วงสดปี 2564 ไทยส่งออกมะม่วงรวม 4,440.30 ล้านบาท แบ่งเป็น มะม่วงสด มูลค่า 2,934.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.25 % จากปี 63 และมะม่วงกระป๋องมูลค่า 1,505.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.12% จากปี 63และปี 2565 (ม.ค. - ก.พ. 65) มีปริมาณ 10,398 ตัน มูลค่ารวม 403.51 ล้านบาท แบ่งเป็นมะม่วงสด มูลค่า 177.96 ล้านบาท ลดลง 38.13 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันจากปี 64 และมะม่วงกระป๋องมูลค่า 225.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.78 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันจากปี 64โดยมีประเทศ 10 อันดับแรกที่เป็นตลาดส่งออกมะม่วงสดสำคัญของไทย ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เมียนมา ลาว สิงคโปร์ รัสเซีย เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีนตามลำดับ
 
 
 

​​กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) โชว์ผลงานดัน Soft Power ครึ่งปีแรก ส่งเสริมผู้ประกอบการ 1,878 ราย สร้างมูลค่าการค้า 3,905 ล้านบาท ผ่านการผลักดันการส่งออกสินค้าอาหาร ผลไม้ ดิจิทัลคอนเทนต์ สุขภาพความงาม และสินค้าสร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทย
 
​​นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามนโยบาย Soft Power ของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ว่า กรมได้ตั้งเป้าหมายผลักดันการส่งออกใน 4 กลุ่มสินค้าเกี่ยวข้อง ได้แก่ อาหาร ดิจิทัลคอนเทนต์ สุขภาพความงาม และสินค้าสร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทย ผ่าน 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1.บ่มเพาะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้มี Mindset ด้าน Soft Power 2.พัฒนาสินค้าสร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทย 3.ขยายตลาดสินค้าอาหารไทย อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และธุรกิจบริการ Wellness Medical Service (WMS) และ 4.ประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์ประเทศไทย โดยในปี 2565 มีโครงการสนับสนุนทั้งสิ้น 32 โครงการ ​​ผลการดำเนินการในช่วงครึ่งปีแรกของกิจกรรมสำคัญ ได้แก่
 
​​1.การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทยและธุรกิจบริการอาหารไทยในต่างประเทศ ผ่านการส่งเสริมตราสัญลักษณ์ Thai Select ร่วมกับร้านอาหารและผู้นำเข้าอาหารไทย ดำเนินการแล้ว ใน 16 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น แคนาดา จีน โปแลนด์ เยอรมนี เกาหลีใต้ สาธารณรัฐเช็ก สเปน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส มาเลเซีย สหราชอาณาจักร และอิตาลี
​​2.การส่งเสริมตลาดธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์และธุรกิจเกี่ยวเนื่องสู่ตลาดต่างประเทศ (ภาพยนตร์ เกม แอนิเมชั่น คาแรคเตอร์) มีแผนดำเนินการ 4 ประเทศ (สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) และรูปแบบออนไลน์ ดำเนินการแล้ว 4 โครงการ ได้แก่ American Film Market 2021 (Online), Kidscreen Summit Virtual 2022 กิจกรรม Content Pitching และการเข้าร่วมงาน Global Game Exhibition G-Star 2021 ผู้ประกอบการเข้าร่วม 30 ราย สร้างมูลค่าการค้า 1,181 ล้านบาท
 
​​3.การส่งเสริม Wellness Medical Service สุขภาพความงาม ใน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีน โดยการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา/สมุนไพร ในงาน Beauty Expo และ Beauty World Middle East 2021 (รูปแบบ Mirror & Mirror) ผู้ประกอบการเข้าร่วม 29 ราย มูลค่าเจรจาการค้า 62.09 ล้านบาท
​​4.การบ่มเพาะผู้ประกอบการ เพื่อสร้าง Mindset ด้าน Soft Power ผ่านโครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ (From Gen Z to be CEO) และ Salesman จังหวัด Go Intern ดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการและ Salesman จังหวัดยุคใหม่แล้ว 1,652 ราย
​​5.การส่งเสริมสินค้าสร้างสรรค์และอัตลักษณ์ไทย ผ่านโครงการส่งเสริมนักออกแบบ สินค้า/บริการนวัตกรรม และพัฒนาส่งเสริมสินค้า OTOP อยู่ระหว่างการพัฒนาสินค้าและผู้ประกอบการดำเนินการแล้ว 72 ราย มูลค่าการค้า 14.39 ล้านบาท
​​6.การส่งเสริมแบรนด์ประเทศไทย ผ่านตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark และการส่งเสริมสินค้า ที่มีการออกแบบดี ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการศักยภาพไทยสู่ตลาดโลกผู้ประกอบการ 95 ราย
นอกจากนี้ นายภูสิตกล่าวว่า กรมได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ กับการผลักดันการส่งออกผลไม้ในปีนี้ ที่ผ่านมา ได้จัด Online Business Matching สำหรับฤดูผลไม้ภาคตะวันออก กับผู้นำเข้าทั่วโลก ไปแล้ว 2 ครั้ง สร้างยอดขายกว่า 2 พันล้านบาท และกำหนดจัดอีกครั้งในเดือน ก.ค. 65 สำหรับฤดูผลไม้ภาคใต้และภาคเหนือ ตลอดจนมีแผนจะจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ร่วมกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศอีก 9 โครงการ ที่กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้มี 2 งานได้แก่ 1.งาน Taste of Thailand ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 8-28 เม.ย.2565 สินค้ายอดนิยม ได้แก่ มะม่วง มังคุด ทุเรียนและสับปะรด คาดการณ์มูลค่าการสั่งซื้อ 29.7 ล้านบาท และ 2. เทศกาลอาหารและผลไม้ไทย ณ กรุงไทเป ไต้หวัน ระหว่างวันที่ 7-20 เม.ย.2565 ร่วมมือกับ Breeze super ซุปเปอร์มาร์เก็ตไฮเอนด์ เปิดตัวทุเรียนสดพร้อมทานจากไทยขายในไต้หวันครั้งแรก และในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. 65 กำหนดจะจัดกิจกรรมยิ่งใหญ่ “Thai Fruit Golden Months” ส่งเสริมการขายผลไม้ไทยในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ใน 13 เมืองกระจายทั่วประเทศจีน เพื่อส่งเสริมการบริโภคและส่งออกผลไม้ไทย
สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169
เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1690493

ค้นหา

Taik Today
Happy senson
มอเตอร์โชว์ 2024
กรมกิจการเด็กและเยาวชน

295466102 429534495856847 6257938790570699089 n