กรุงเทพฯ – 21 มีนาคม 2566: มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น นำโดยมร. ทาคาโอะ คาโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เผยโฉมรถยนต์ “มิตซูบิชิเอ็กซ์อาร์ที คอนเซ็ปต์” ซึ่งเป็นรถต้นแบบของรถกระบะ ไทรทัน รุ่นใหม่ 1ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2 ครั้งที่ 44ในระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 2 เมษายนนี้โดยมีแผนเปิดตัวรถอย่างเป็นทางการ ภายในปีงบประมาณ 2566
โดยรถมิตซูบิชิไทรทัน รุ่นใหม่จะเป็นรถกระบะขนาดกลางเจนเนอเรชั่นที่ 6 ของมิตซูบิชิ มอเตอร์สซึ่งได้รับการออกแบบใหม่ทั้งคันเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีโดยหลังจากที่เปิดตัวในประเทศไทยภายในปีงบประมาณ 2566 แล้วจะมีการเปิดตัวรถรุ่นนี้ในภูมิภาคอาเซียน โอเชียเนีย และตลาดอื่น ๆทั่วโลกเป็นลำดับ “มิตซูบิชิ เอ็กซ์อาร์ที คอนเซ็ปต์”เป็นรถต้นแบบของรถกระบะไทรทันโมเดลใหม่ที่มาพร้อมดีไซน์ดุดันสะดุดตาตั้งแต่ด้านหน้าจรดท้ายเสริมอารมณ์แกร่งด้วยเส้นนำสายตาจากกระโปรงหน้าสู่ด้านข้างตัวถังในสไตล์แนวราบ พร้อมการตกแต่งเหนือซุ้มล้อหน้า-หลัง
และติดตั้งยางลุยโคลน (mud-terrain)ที่ช่วยเพิ่มพลังขับเคลื่อนเต็มสปีดปราดเปรียวพร้อมพุ่งทะยานในทุกเส้นทางสุดหฤโหดของการแข่งขันแรลลี่ ตัวถังห่อหุ้มด้วยลายพราง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “ลาวา”หินภูเขาไฟที่อัดแน่นด้วยพลังงาน อันทรงพลังพร้อมด้วยกราฟฟิกเส้นขนานแนวเฉียง 10 เส้น ในแบบฉบับของโลโก้แรลลี่อาร์ท ที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าของมิตซูบิชิมอเตอร์ส ได้อย่างโดดเด่น
ในปีนี้ ทีมมิตซูบิชิ แรลลี่อาร์ท ได้วางแผนที่จะลงแข่งขันในรายการเอเชีย ครอสคันทรี แรลลี่ 2023 4 ด้วยรถโปรโตไทพ์ครอสคันทรี ซึ่งเป็นไทรทัน รุ่นใหม่ (Group T1)
โดยมีเป้าหมายมุ่งคว้าแชมป์ 2 สมัยติดต่อกัน โดยจะยังมี มร. ฮิโรชิมาซูโอกะ เจ้าของตำแหน่งแชมป์ดาการ์ แรลลี่ 2 สมัยในปี 2002 และ 2003 ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการทีม ขณะที่วิศวกรของมิตซูบิชิมอเตอร์สจะทำการทดสอบสมรรถนะก่อนแข่งขันและให้การสนับสนุนตลอดการแข่งขันแรลลี่ในครั้งนี้
พร้อมกันนี้ ทางมิตซูบิชิ มอเตอร์ส จะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญที่สั่งสมจากการแข่งขันแรลลี่เพื่อนำมาใช้พัฒนาการผลิตรถยนต์ที่จำหน่ายในท้องตลาดด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างรถยนต์ภายใต้แนวคิด Mitsubishi Motors-ness เพื่อมอบการขับขี่ที่ปลอดภัย สะดวกสบายและให้ความรื่นรมย์ในทุกสภาพอากาศและทุกสภาพถนน
มร. ทาคาโอะ คาโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์สคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า “ปีงบประมาณ 2566เป็นปีที่มีความสำคัญสำหรับมิตซูบิชิ มอเตอร์ส
ในการเร่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจของเราในภูมิภาคอาเซียนด้วยการเปิดตัวไทรทัน รุ่นใหม่ และรถคอมแพ็กต์เอสยูวีรุ่นใหม่โดยรถไทรทัน รุ่นใหม่อยู่ระหว่างการทดสอบในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดตัว ซึ่งเราได้ดำเนินการทดสอบอย่างเข้มข้นทั่วโลกพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สั่งสมมาจากการแข่งขันแรลลี่ไว้ในรถรุ่นนี้และด้วยการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ตามแผนที่วางไว้จะทำให้เราเดินหน้าขับเคลื่อนการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งผมขอให้ทุกท่านโปรดติดตามความเคลื่อนไหวของมิตซูบิชิ มอเตอร์สในอนาคต อย่างใกล้ชิด”เมื่อเร็วๆ นี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่นได้ประกาศแผนธุรกิจระยะกลาง รอบ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2566 – 2568)ภายใต้ชื่อแผน “ชาเลนจ์ 2025” (Challenge 2025) เดินหน้าเต็มสูบผลักดันธุรกิจให้เติบโตเร่งเครื่องเตรียมพร้อมสำหรับตลาดคนรุ่นใหม่ในด้านการผลิตรถยนต์ มิตซูบิชิ มอเตอร์สจะสานต่อการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนยานยนต์ด้วยไฟฟ้า(Electrification) อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นโซลูชั่นรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งยังคงเป็นประเด็นสำคัญระดับโลก
พร้อมช่วยขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนโดยมีกลยุทธ์ระดับภูมิภาคในการผลักดันแผนงานและจัดสรรทรัพยากรในเชิงธุรกิจและการขยายห่วงโซ่คุณค่า มิตซูบิชิ มอเตอร์ส
มุ่งเติบโตด้วยการเจาะธุรกิจใหม่เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ในอนาคตนอกจากนี้ บริษัทฯจะสร้างความสัมพันธ์ที่เปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นกับลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่หลอมรวมความเป็นมิตซูบิชิ มอเตอร์ส(Mitsubishi Motors-ness)ควบคู่ไปกับการสร้างเสริมคุณค่าของแบรนด์
แผนหลักของ “ชาเลนจ์ 2025” (Challenge 2025)ในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ประกอบด้วย
มุ่งสู่เป้าหมายยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ 1.1 ล้านคันและผลกำไรจากการปฏิบัติงาน 2.2 แสนล้านเยน หรือประมาณ5.7 หมื่นล้านบาท (อัตราส่วนกำไรจากการปฏิบัติงานร้อยละ 7)
ให้ความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรเพื่อการดำเนินงานในภูมิภาคอาเซียน / โอเชียเนีย ควบคู่ไปกับการเพิ่มยอดขายส่วนแบ่งตลาด และรายได้
เปิดตัวรถยนต์ 16 รุ่น ภายใน 5 ปีข้างหน้า รวมถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (xEV) 9 รุ่น]
ขยายการลงทุนเพิ่มประมาณร้อยละ 30 ภายใน 6 ปีข้างหน้าจนถึงปี 2571 ด้านการวิจัยและพัฒนาและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร(คาดว่าการจัดสรรการลงทุนด้านระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ไอที
และธุรกิจใหม่จะมีอัตราส่วนประมาณร้อยละ 70ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2569 เป็นต้นไป)
ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
ลงทุนมูลค่า 2.1 แสนล้านเยน หรือประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาทภายในปี 2573 เพื่อจัดหาแบตเตอรี่รวมทั้งหมด 15กิกะวัตต์ชั่วโมง
กระชับความสัมพันธ์กับบริษัทพันธมิตร(การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมกัน และอื่น ๆ)
สร้างความท้าทายในธุรกิจใหม่ด้วยการใช้สินทรัพย์ที่มีความพิเศษเฉพาะสำหรับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ (การจัดการพลังงาน การนำแบตเตอรี่กลับมาใช้ใหม่
การจำหน่ายข้อมูล และอื่น ๆ)