วันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น. โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์สปา จังหวัดสงขลา
นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พบปะและชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ประเภทผ้าและหัตถกรรม และหัวหน้าส่วนราชการ ประกอบด้วย นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดสงขลา นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน นางสาวริตยา รอดนิ่ม ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน และผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP งานหัตถกรรม ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เข้าร่วมในงานฯ
โดยในวันนี้ ได้รับเกียรติจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ และที่ปรึกษาโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” อาทิ ดร.ศรินดา จามรมาน นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลายผ้าและพัฒนาผ้าไทย นายภูภวิศ กฤตพลนารา ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบแฟชั่น นายศริชัย ทหรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่น ดร.ณพงศ์ หอมแย้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน การผลิตเส้นใยและการย้อมสีธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG) ดร.ณัฐวรรธน์ วิวัฒน์กิจภูวดล ผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายช่องทางการตลาด
นายวรงค์ แสงเมือง กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและงานหัตกรรม โดยการสร้างองค์ความรู้ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้กระจายสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง ซึ่งการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ประเภทผ้าและหัตถกรรม มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า และงานหัตถกรรม ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”
2. เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด สร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
3. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและงานหัตถกรรมในการพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์พื้นถิ่น
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ จุดดำเนินการที่ 2 จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 50 ราย รวม 150 ราย ดำเนินการระหว่างวันที่ 10 - 12 พฤษภาคม 2566 โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา จังหวัดสงขลา โดยมีหลักสูตรในการฝึกอบรม ประกอบด้วย
1. การสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมสู่สากล
2. การต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมตามเทรนด์แฟชั่นที่ร่วมสมัย
3. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด
4. การผลิตเส้นใยและการย้อมสีธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG)
5. กลยุทธ์ทางการตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า
6. การเตรียมความพร้อมการประกวดผ้าลายดอกรักราชกัญญา
นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับไหม จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ร่วมบูรณาการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคนิควิธีการเฉพาะต่างๆ ในวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. หรือสามารถรับชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไทยได้ผ่านช่องทางออนไลน์ (Live สด) ผ่านเพจ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในช่วงเวลา 12.00 - 13.00 น.
#กรมการพัฒนาชุมชน
#กระทรวงมหาดไทย
#ผ้าไทยใส่ให้สนุก
#Coaching
#พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าและหัตถกรร