เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับกระแสความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น อาทิ ความขัดแย้งทางการค้าโลกและการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เป็นต้นส่งผลให้โครงสร้างทาง
เศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งปรับตัวและร่วมมือกันแก้ปัญหา
โดยมีความจำเป็นที่จะต้องปรับกฎหมาย ปรับโครงสร้าง แรงจูงใจ และปรับนโยบายการแข่งขันทางการค้า เพื่อทำให้ผู้ประกอบการไทย มีความสามารถในการแข่งขัน
เท่าเทียมต่างประเทศและเติบโตได้ ดังนั้น ข้อมูลสถิติจากสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม
จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลทางเศรษฐกิจสำหรับภาครัฐ และภาค
เอกชนใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นตลอดจนยกระดัศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้ในระยะยาว
ดร. ปิยนุช วุฒิสอนผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่าโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.
2565 หรือ เรียกสั้นๆว่าโครงการ สธอ. เป็นโครงการสำมะโนทางเศรษฐกิจที่สำคัญจัดทำขึ้นตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติเพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทุกภาคส่วน
หน่วยงานภาครัฐ เช่นสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใช้ประกอบการจัดทำบัญชีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ/ รายได้ประชาชาติของประเทศสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ใช้สนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูล SMEs ของประเทศ
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้
ประกอบการ SMEs กรมพัฒนาธุรกิจการค้าใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมธุรกิจ e - Commerceสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ใช้ประกอบ
การจัดทำค่าถ่วงน้ำหนักของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อออกมาตรการและนโยบายทางการเงินต่างๆ เป็นต้น
ภาคเอกชน สามารถใช้ข้อมูล สธอ. ในการเปรียบเทียบธุรกิจของตนกับภาพรวมของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนกาลงทุน / ขยายกิจการ
อีกทั้งภาคประชาชน ยังสามารถใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเข้ามาทำธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยขนาดเล็กและขนาดกลางหรือที่เรียกว่า MSME เช่น
การขายสินค้าออนไลน์หรือกลุ่ม Start up สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ สำหรับการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับตนเอง
โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติหรือ สสช. สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื้อเศรษฐกิจและสังคม ได้เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการทุกประเภททั้งที่อยู่ในระบบทะเบียนและนอกระบบทะเบียนหรือที่เรียกว่า “งานนับจด( Listing)” เช่น ชื่อสถาน
ประกอบการ ที่ตั้ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจจำนวนคนทำงาน เป็นต้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างและการกระจายตัวของสถานประกอบการประเภทต่างๆ
สำหรับในปี 2565 นี้ จะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดของสถานประกอบการธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตเกี่ยวกับผลการประกอบกิจการของสถานประกอบการ หรือเรียกว่า
“งานแจงนับ” โดยมีรายการข้อถามที่จัดเก็บเช่น จำนวนคนทำงานค่าตอบแทนแรงงานทค่าใช้จ่ายในการผลิต
และดำเนินงาน ผลผลิต และรายรับของสถาน ประกอบการ เป็นต้นและเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ยังคงส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศอย่างต่อเนื่อง สสช. จึงจะรวบรวมข้อมูลผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาจากการแพร่ระบาดที่สถานประกอบการต้องเผชิญ รวมทั้ง ความต้องการให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติมด้วย
โดย”คุณมาดี” เจ้าหน้าที่จาก สสช. จะลงพื้นที่เก็บ
รวบรวมข้อมูลพร้อมกันทั่วประเทศระหว่างวันที่1 พฤษภาคม - 31 สิงหาคม 2565 คุณมาดีจะผ่านการ
ตรวจ ATK และปฎิบัติ ตามมาตรการสาธารณสุข
ต่างๆอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ยังได้เพิ่ม
ช่องทางในการให้ข้อมูล ผ่านช่องทางออนไลน์
เพื่ออำนวยความสะดวก แก่ผู้ประกอบการด้วย
“ สสช. จึงขอความร่วมมือ ผู้ประกอบการให้ข้อมูล
กับโครงการ สธอ. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและขอให้ทุกท่านมั่นใจว่าข้อมูลที่ให้จะถูกเก็บเป็นความลับ และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตาม พ.ร.บ. สถิติ และพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัดผู้ให้ข้อมูลจึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่รั่วไหลไม่โยงใยเรื่องภาษีหรือข้อกฎหมายใดๆอย่าง
แน่นอน” ดร.ปิยนุชฯ กล่าว