วันที่ 15 พฤษภาคม 2565 นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก จัดงานสัมมนาหัวข้อ “สะพานแห่งความสำเร็จสู่ธุรกิจ ไทย - ซาอุดิอาระเบีย ตามวิสัยทัศน์ 2030” A key Success for Business Thailand - Saudi Arabia’s Vision 2030 ได้รับเกียรติจาก นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธี และรองศาสตราจารย์ สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกริก กล่าวต้อนรับ รายงานความเป็นมาของโครงการและราวัตถุประสงค์การจัดสัมมนาในครั้งนี้
ในงานได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลูลีม กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางศึกษาและโลกมุสลิม, นาวาตรี วิทวัส กู้ประเสริฐ อดีตอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงาน สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย, ราเชนท์ อาตมาตร
ประธานกรรมการบริหาร บริษัทอาดินัส ทราเวล แอนด์ ทัวร์ จำกัด ( GHA for Saudia Thailand) ดำเนินรายการโดย อาจารย์กัปตันอำพล ขิวิลัย ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกริก และกัปตันพันธ์พิสุทธิ์ นุราช รองกรรมการผู้จัดการ Thai Inter Flying
งานสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นวันเดียวกับที่ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยที่นำคณะผู้แทนหน่วยราชการด้านเศรษฐกิจ นักธุรกิจและภาคเอกชนกว่า 100 คน เดินทางเยือนซาอุฯ ระหว่างวันที่ 15 - 19 พ.ค.2565 ซึ่งมหาวิทยาลัยเกริกได้มีคณะผู้แทนเดินทางเยือนประเทศซาอุดิอาระเบียไปแล้วเมื่อวันที่ 21 - 28 กุมภาพันธ์ 2565 ถือเป็นสถาบันการศึกษาแรกของประเทศไทยที่เดินทางไปสานสัมพันธ์ ลงนามคงามร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งหารือความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่ King Abdulaziz University , Islamic University of Madinah, Umm Al-Qura University
งานสัมมนาจัดขึ้นโดย นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก โดยมี อาจารย์สราวุธ และซัน หัวหน้าสาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม ประธานรุ่นที่ 3 เป็นประธานคณะจัดงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา สัมมนาระดับดุษฎีบัณฑิต โดยประกอบด้วย 5 กลุ่มวิชา ได้แก่
1. กลุ่มวิชาการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรม
2. กลุ่มวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
3. กลุ่มวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์
4. กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
5. กลุ่มวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ภายใต้การกำกับดูแลของ ดร.พงศ์ธวัช จันทบูลย์ ผู้อํานวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก และผศ.ดร.ณัฐพร ฉายประเสริฐ อาจารย์ประจำหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต
การจัดสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับข้อมูลทิศทางการพัฒนาการประกอบธุรกิจ
ของประเทศไทย ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ 2030 ของประเทศซาอุดิอาระเบีย และ. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีส่วนร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้เกิดความชัดเจนถึงทิศทางการพัฒนาธุรกิจของไทย อย่างยั่งยืน การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจํานวนกว่า 300 คน มีรูปแบบการจัดสัมมนาทั้งในรูปแบบ onsite และ รูปแบบ online ประกอบไปด้วยคณาจารย์ ผู้บริหาร นักศึกษาระดับ ปริญญาเอก นักศึกษาระดับปริญญาโท นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกริก รวมถึงนักศึกษา มหาวิทยาลัยอื่น ๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม
นายอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวว่า "โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” เพื่อกำหนดนโยบาย และกรอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการส่งเสริมสินค้า และผลิตผลการเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลของไทย"
ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลูลีม กล่าวว่า เราต้องมองไปในแง่บวก ในการทำธุรกิจ ซึ่งก่อนทำข้อตกลงใดๆ ต้องคำนึงถึงความยุติธรรม ความมั่นคง ในการทำธุรกิจต่อๆ ไป ต้องคำนึงถึงกฎหมายแรงงานไทย ซึ่งเน้นเรื่องความสามารถ ความผูกพันที่มีต่อกันระหว่างประเทศ ก็คือศาสนาอิสสาม ซึ่งเป็นเครื่องเชื่อม ค่านิยมของสังคม วัฒนธรรมของสังคม และคนในสังคม
นาวาตรี วิทวัส กู้ประเสริฐ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสังคมซาอุดิอาระเบียได้เปลี่ยนแปลงไป สังคมมีการยอมรับแรงงานหญิงมากขึ้น มีการสร้างแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมา เช่นที่เมืองลีออง พัฒนา เป็นแหล่งที่ สลักหน้าผาหินเช่นเดียวกับที่เภตรา ตัองพัฒนาเป็นสถานศึกษาในเชิงนวัตกรรม ซึ่งพัฒนาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งแรงงานก็ต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะที่เข้าใจนวัตกรรมสมัยใหม่ อาชีพที่แรงงานไทยสามารถไปประกอบอาชีพได้ และมีความต้อง และเงินเดือนสูง ได้แก่ นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล ก็เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการ อาชีพ หมอ พยาบาล เทรนเนอร์มวย วิศวกร และแรงงานที่มีทักษะ เป็นต้น ก็เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการและเงินเดือนสูงด้วย
นอกจากนี้ นายราเชนท์ อาตมาตร กล่าวว่า เราต้องเปลี่ยนมุมมอง เราต้องคิดใหม่ สายการบิน ซาอุเดีย มีเครื่องบินรุ่นใหม่ล่าสุด ที่ใช้ในการบินมาประเทศไทย ในเส้นทาง กรุงเทพ - เจดาห์ ซึ่งเป็นการปรับวิสัยทัศน์ของผู้นำ แม้กระทั่งการลงทุนเอง ทางประเทศซาอุก็ให้ความสำคัญกับการรักษาพยาบาล จากการท่องเที่ยวที่ผ่านมา การบริการ การดูแลเอาใจใส่ต่างๆ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นกับชาวซาอุ เพิ่มมากขึ้น ด้านความสัมพันธ์ สินค้าของไทย เช่นตู้ ขายสินค้าในประเทศซาอุ เริ่มมีสินค้าจากประเทศไทย เข้าไปวางในตู้ขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น จากวิสัยทัศน์ 2030 ของประเทศ ซาอุอารเบีย รัฐบาลต้องการเพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มมากขึ้น ประเทศซาอุดิอารเบียมีหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราเองก็ต้องเดินหน้าไปพร้อมกับวิสัยทัศน์ ของรัฐบาลให้ทัน จะต้องทันทั้งด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล การท่องเที่ยว ซึ่งในระยะเวลา 8 ปี ก็ต้องมองและคิดที่จะปรับตัวของเราอย่างไรในการที่จะปรับตัวไปกับวิสัยทัศน์ 2030