CPP Myanmar เป้าหมายดำเนินธุรกิจเกษตรยั่งยืนในเมียนมา มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำเกษตรที่จะรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยมีการตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเหมาะสมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรดำเนินงานร่วมกับคู่ค้า (B2B) และเกษตรกรฟาร์มโปร (B2C) สามารถทวนสอบย้อนกลับได้ไปยังพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร
ปัจจุบันนำมาตรการติดตามเฝ้าระวังการเกิดจุดความร้อนหรือ Hotspot ที่ดำเนินการโดยนักวิชาการด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์นำข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร(VIIRS) ที่เผยแพร่โดย Fire Information for Resource Management System (NASA FIRMS) วิเคราะห์ตำแหน่งพื้นที่เกิดจุดความร้อนจากดาวเทียม Sentinel-2 ภายใต้โครงการ Copernicus ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) และใช้โปรแกรม ArcGIS Desktop และ/หรือ QGIS ArcGIS Desktop ในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อทราบตำแหน่งพื้นที่เกิดจุดความร้อนจากดาวเทียมมาวิเคราะห์สาเหตุข้อเท็จจริงของปัญหาและบริหารข้อมูล สำหรับเกษตรกรฟาร์มโปร (B2C) มีการติดตามเกิด Hotspot วางแผนการเก็บข้อมูลและอ่านผลนักวิชาการด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดำเนินการทุกวันเพื่อตรวจสอบ ควบคุม และแก้ไขปัญหาการเกิดจุดความร้อนทันที ซึ่งหากในพื้นที่เกษตรกรสมาชิกพบจุดความร้อนจะมีการแจ้งเตือนจากศูนย์ควบคุมกลางและประสานไปยังสาขาที่ให้บริการเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อดำเนินการหาวิธีแก้ไขปัญหาจุดความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที และคู่ค้า (B2C) มีการดำเนินการเก็บข้อมูลระบบ GPS ติดตามข้อมูลพื้นที่ปลูกเพื่อยืนยันการเพาะปลูกไม่มีการเผาและไม่ใช่พื้นที่ป่า
พร้อมกันนี้ CPP Myanmar ยังสร้างองค์ความรู้ โดยจับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ขับเคลื่อนสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Organization) ได้ในปี 2030 เมื่อช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมาได้จัด กิจกรรม“Zero Burn, Zero Waste” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ให้ความรู้ยกระดับอาชีพเกษตรกรสู่มาตรฐานการเพาะปลูก ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการและมีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจร่วมกัน จริงจังในการดูแลสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการปฏิบัติ 6 หัวข้อ คือ
1. ลดการไถ (Conservation Tillage)
2. การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม (Appropriate Fertilizer)
3. การทำนาเปียกสลับแห้ง (Alternative Wet and Dry Activities)
4. ลดการเผา (Biomass Utilization)
5. การทำเตาชีวมวล (Biomass Stove Activities)
6. การทำโซล่าเซลล์ (Assembly and testing of a solar cell water pump)
เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม สร้างมาตรฐานเกษตรยั่งยืน โดยได้เข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบภายใต้การประเมินความยั่งยืน FSA (Farm Sustainability Assessment) ซึ่งเป็นมาตรฐานนานาชาติที่ใช้ในการประเมินรับรองว่าการผลิตทางการเกษตรมีขั้นตอนที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการจัดการต้นน้ำการผลิตตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระยะยาวตลอดห่วงโซ่อุปทาน รักษาสมดุลการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เมื่อผ่านการประเมินจะดำเนินการขยายผลต่อยังเกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆของเมียนมา บริษัทฯหวังให้การทำการเกษตรต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรสมาชิก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการเกิดวัสดุเหลือทางการเกษตรในกระบวนการ พร้อมทั้งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน หวังให้การทำการเกษตรจากนี้ไป จะได้ร่วมกันขับเคลื่อนจนทำให้การแก้ไขปัญหาสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Organization) ได้ในปี 2030