ให้สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยพัฒนาเชิงพื้นที่ ภายใน 7 ปี
ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ (อว.) ในการเดินหน้าผลักดันโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “Reinventing University” มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เร่งปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยใหม่ พร้อมปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและสังคม โดยการแบ่งกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาออกเป็น 5 กลุ่มยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1.กลุ่มสถาบันที่มุ่งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา การวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global & Frontier Research) 2.กลุ่มที่มุ่งยุทธศาตร์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology& Innovation) 3.กลุ่มที่มุ่งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based & Community) 4.กลุ่มที่มุ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักทางศาสนา (Moral & Intellectual) และ 5.กลุ่มที่มุ่งยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาเฉพาะทาง(Specialized& Professional)
นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันโครงการดังกล่าวรุดหน้าไปแล้วกว่า 50% โดยมีมหาวิทยาลัยต่างๆ จากทั่วประเทศกว่า 60 แห่ง นำเสนอโครงการมายังคณะอนุกรรมการ Reinventing University และมีมหาวิทยาลัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกแล้วจำนวน 17 มหาวิทยาลัย ใน 15 โครงการ โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) พร้อมด้วย รศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน คณะอนุกรรมด้านการ พลิกโฉมมหาวิทยาลัย ได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการ “หมู่บ้านราชภัฏ” ภายใต้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม เป็นหนึ่งในโครงการที่ผ่านการคัดเลือกตามกลุ่มมุ่งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based & Community)
ศ.ดร.นิรุต ถึงนาค อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เปิดเผยว่า มรภ.มหาสารคาม นำเสนอ 2 โครงการ ได้แก่ “โครงการพัฒนารูปแบบการปฏิรูปโครงสร้างระบบกลไกการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” และ “โครงการพัฒนารูปแบบการยกระดับการผลิตและพัฒนากำลังคนเป็นผู้ประกอบการสังคม” ซึ่งทั้ง 2 โครงการผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการฯ เป็นที่เรียบร้อย โดยมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็น“มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่เน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่” ภายในระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ.2564-2570) โดยได้จัดตั้ง“หมู่บ้านราชภัฏ” ขึ้น เพื่อใช้เป็นชุมชนต้นแบบ ในการเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชุมชนและท้องถิ่น ภาคเอกชนและสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมด้วยทีมบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน รวมไปถึงนักศึกษา ที่มารวบรวมข้อมูลและประสานงานกับเครือข่ายต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สุขภาวะ ตลอดจนส่งเสริมอาชีพ ให้คนในชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างเข้มแข็ง
“ชุมชนบ้านหนองหิน เป็นหนึ่งใน 17 ชุมชนต้นแบบ ที่เราได้เข้าไปมีส่วนร่วม โดยเริ่มจากการเข้าไปรับทราบถึงปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่ขาดแคลนในเรื่องของแหล่งน้ำ ดังนั้นเราจึงได้หาทางดึงน้ำเข้ามาในพื้นที่ โดยการสร้างระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อมีน้ำใช้ในการเพาะปลูก ชาวบ้านจะสามารถปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น นอกเหนือจากฤดูกาลทำนาได้ นอกจากนี้เรายังได้เข้ามาส่งเสริมในเรื่องของทักษะและการทำอาชีพเสริม ซึ่งในชุมชนบ้านหนองหินมีการปลูกข้าวสามสี ซึ่งเป็นข้าวอินทรีย์อยู่แล้ว แต่เป็นการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตเองได้ เราจึงเข้ามาให้ความรู้ในเรื่องของการทำบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ ตลอดจนการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ชาวบ้านสามารถขายข้าวส่งตรงไปยังผู้บริโภคในราคาที่เหมาะสม ซึ่งหากว่าชุมชนต้นแบบมีความเข้มแข็ง มีรายได้หล่อเลี้ยงคนในชุมชนได้อย่างมั่นคง ก็จะทำให้ประเทศแข็งแรงตามไปด้วย”
ทางด้านนายธีรพล จันทร ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านหนองหิน ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ทำนา เลี้ยงวัว ทำให้มีรายได้ที่ไม่แน่นอน ดังนั้นเมื่อทำนาหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว แรงงานในพื้นที่จำนวนมาก จะเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อไปหาแหล่งรายได้จากที่อื่น เพื่อมาจุนเจือครอบครัว แต่เมื่อคนในชุมชนบ้านหนองหิน ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านราชภัฏ มาได้ประมาณ 2 ปี ทำให้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และยังลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทำให้สมาชิกภายในครอบครอบครัวได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอีกด้วย
“ที่นี่ค่อนข้างแห้งแล้ง ขาดแคลนแหล่งน้ำธรรมชาติที่จะมาใช้ในการเพาะปลูก แต่เมื่อเจ้าหน้าที่และนักศึกษาจากมรภ.มหาสารคาม เข้ามาช่วยในเรื่องของน้ำ ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชอื่นๆ หลังฤดูทำนา อาทิ ปลูกผัก พริก มะเขือ มะละลอ ทำให้มีรายได้เสริมอีกทาง นอกจากนี้ยังได้เข้ามาให้ความรู้ในเรื่องของการแปรรูปวัตถุดิบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต เช่น การนำข้าวสามสี ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกในพื้นที่มาพัฒนาเป็นขนมข้าวพองธัญพืช คุ้กกี้หน้าข้าวพอง ขนมอาลัว รวมไปถึงการนำพริก ซึ่งมีการปลูกกันเป็นจำนวนมาก มาทำเป็นพริกทอดสมุนไพร ทำให้บ้านหนองหินมีรายได้หมุนเวียนภายในชุมชนและครอบครัวตลอดทั้งปี”