วันที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ปาฐกถาหัวข้อ "สิ่งที่หวังจะสร้างฝัน การมีบ้านของคนไทย" ในการเสวนา “The Visual Talk : Home & Hope คนไทยต้องมีบ้าน” ซึ่งจัดโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เพื่อรับฟังแนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของคนไทยจากภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
นายวราวุธ กล่าวว่า คำว่าสวัสดิการสังคม คือพี่น้องประชาชนจะเข้าถึงพื้นฐานหลายอย่าง เช่น การศึกษา รวมทั้งการมีบ้านเป็นของตนเอง ซึ่งปัญหาที่อยู่อาศัย เป็นปัญหามาช้านาน การเข้าถึงที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงเเละปลอดภัย เพราะบ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เเต่ปัญหาการไม่มีบ้านอยู่อาศัย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ เเละเป็นปัญหาที่คนรุ่นใหม่ ไม่สามารถมีอาชีพที่มีรายได้เพียงพอในการชำระค่าที่อยู่อาศัย ทำให้คนบางกลุ่มไร้ที่อยู่ และภูมิศาสตร์ทำให้คนส่วนใหญ่มากระจุกตัวอยู่ตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทำให้คนเข้ามาอยู่ในพื้นที่แออัด ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งข้อมูลตามตัวเลขจำนวนกว่า 5 ล้านคน ไม่มีที่อยู่ เป็นคนมีรายได้น้อย เป็นกลุ่มเปราะบาง มีการอพยพเข้ามาเป็นคนไร้บ้าน ส่วนใหญ่จะมีอายุมากคือ51-60 ปี
นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า วันนี้ ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แบบที่น่ากลัว โดย 7 - 8 ปี จากนี้ไป สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสุดยอดเกินร้อยละ 21 ของคนไทยทั้งหมด โดยสาเหตุที่มีคนสูงอายุมากขึ้นคือระบบสาธารณสุขดีขึ้น มีพัฒนาการดีขึ้น คนเกิดใหม่น้อยลง ซึ่งผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทำให้มีการพึ่งพิงประชากรวัยทำงานอายุ 15 - 60 ปี ที่มีจำนวนน้อยลงเเต่คนที่ต้องการการดูแลมีเพิ่มมากขึ้น กรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่วันนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์แพงมาก แล้วใครจะมีปัญญาซื้อ อย่างคนรุ่นใหม่จบมาปริญญาตรี มีเงินเดือน 15,000 บาท
นายวราวุธ กล่าวต่อไปอีกว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่ามีต่างชาติเข้ามาซื้อมาก แต่คนไทยไม่มีกำลังซื้อ ทำให้เปลี่ยนมาเช่าที่อยู่อาศัยแทน และมีมากกว่าคนซื้อบ้าน เพราะเหมาะสมกับคนที่มีรายได้น้อย คือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นความเหลื่อมล้ำที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยมาโดยตลอด ฉะนั้นความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญและเป็นภารกิจที่สำคัญของกระทรวง พม. ตามแผนแม่บทภายในปี 2579 คนไทยจะต้องมีที่อยู่อาศัย มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ชุมชนน่าอยู่ปลอดภัย สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งการทำให้ประเทศดำเนินการตามแผนทั้งหมดนี้ เป็นภารกิจสำคัญของกระทรวง พม. ทั้งนี้ เมื่อตนเข้ามาทำงาน 2 เดือน ได้เห็นปัญหาที่จะต้องเร่งแก้ไขเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน รวมถึงการใช้แนวคิดสมาร์ทซิตี้ (Smart City) ที่เข้ามารองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตอย่างที่ควรจะเป็น เช่น ไฮสปีดอินเทอร์เน็ต
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ที่ทำงานกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นองค์กรที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยถ้วนหน้า มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายในปี 2579 ซึ่งกล่าวถึงบริบทของเมืองและชนบท เเต่พอช. ทำงานคนเดียวไม่ได้ เพราะต้องร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในการแก้ไขชุมชนแออัดในแต่ละเมืองใหญ่ การบุกรุกพื้นที่ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ หรือที่อยู่ในต่างจังหวัด ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560 - 2565) พอช. ได้รับงบประมาณแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนประมาณ 1.4 แสนครัวเรือน และ กคช. ได้ประมาณการความต้องการที่อยู่อาศัยว่า ปี 2560-2570 พบว่าความต้องการของผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการที่อยู่อาศัย และคนรุ่นใหม่ที่ทำงานมีรายได้ยังไม่มาก แต่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองนั้น จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจากผลสำรวจคนรุ่นใหม่สามารถรับค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัยได้ 500,000 บาทต่อราคาของที่พัก จึงเป็นที่มาของราคาที่พักในราคาหลักแสน
ทั้งนี้ ตนเข้ามาทำงานในกระทรวง พม. ได้พูดถึงการสร้างโอกาสให้กับคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานะ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสามารถทำให้เป็นบ้านที่มีกำลังซื้อ ให้คนสามารถซื้อได้ ขณะนี้ ตนกำลังหารือกับ พอช. และ กคช. ว่าจะเริ่มโครงการนี้ได้เร็วที่สุดเมื่อไร และสำคัญที่สุดเมื่อคนไทยมีบ้านที่บอกว่าของมันต้องมี บางอย่างไม่ต้องมีบ้างก็ได้ เพราะบ้านเป็นสิ่งสำคัญในปัจจัยสี่ เมื่อมีบ้านแล้วต้องรักษาไว้ให้ดี กระทรวงพม. มีภารกิจที่สำคัญต้องดูแลพี่น้องประชาชนทุกคน และเราทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งตนมั่นใจว่าคนไทยเมื่อทำอะไรด้วยกันแล้ว ไม่มีอะไรที่คนไทยทำด้วยกันไม่ได้
#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม
#กระทรวงพม #รมวพม #รับฟังทำจริง